งานวิจัยกรีน (๗) ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ประเด็น
5
และ 6
การเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพื่องานวิจัยเชิงคุณภาพ
งานวิจัยครั้งนี้มีผู้ถูกสัมภาษณ์ จำนวน 16 ราย
ซึ่งถือเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆในจังหวัดเพชรบูรณ์
ผลวิจัยพบว่า
การเก็บข้อมูลของงานวิจัยคุณภาพครั้งนี้
ประกอบไปด้วยประเด็นที่สำคัญที่ผู้วิจัยใช้เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ จำนวน 6 ประเด็นหลัก
ดังนี้
ประเด็นที่ 5 การบริหารส่วนประสมทางการตลาดในผลิตภัณฑ์กรีน
ผลการวิจัยในส่วนของส่วนประสมทางการตลาด
พบว่า ผู้ประกอบการและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กรีนเห็นด้วยว่า
การใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดมีความสำคัญในตลาดผลิตภัณฑ์กรีนอย่างมาก
ซึ่งผู้ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์มีแนวทางการใช้ส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันออกไป
ส่วนมากมีมุมมองที่เน้นในส่วนประสมทางการตลาด 3 ส่วน ได้แก่
1.
การส่งเสริมทางการตลาด
โดยมีการส่งเสริมทางการตลาดในหลายลักษณะ
เช่น การโฆษณาทางตรงกับผู้บริโภค การโฆษณาทางเว็บไซต์ต่างๆ
การออกร้านในงานเทศกาลต่างๆ การจัดโปรโมชั่นให้กับการซื้อผลิตภัณฑ์กรีน
การมีโปรโมชั่นช่วง “นาทีทอง” (ราคาลดพิเศษ) การเน้นการประชาสัมพันธ์ต่างๆทั้งทางตรงและทางสื่อออนไลน์
เป็นต้น
2.
ช่องทางการจัดจำหน่าย
การใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายในลักษณะต่างๆ
ซึ่งในปัจจุบันอาจเพิ่มเติมในช่องทางการจัดจำหน่ายแบบใหม่ เช่น ขายทางอินเตอร์เน็ต
เป็นต้น รวมถึงต้องมีเครือข่ายในการจัดจำหน่าย
3.
การตั้งราคา
การตั้งราคามีความสำคัญอย่างมากต่อการตลาดผลิตภัณฑ์กรีน
ราคาต้องมีความชัดเจน บางรายมองว่า
การตั้งราคาที่ดีต้องสัมพันธ์กับความยากง่ายในการผลิตผลิตภัณฑ์กรีนด้วย
ผู้ให้ข้อมูลบางรายที่ระบุว่า
มีการใช้ทุกส่วนประสมทางการตลาดในการบริหารงานขององค์กร บางรายมองว่า วางแผนด้านผลิตภัณฑ์ในส่วนประสมทางการตลาดมีความสำคัญมากในการบริหารผลิตภัณฑ์กรีน
ซึ่งผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เชื่อว่า การดำเนินการตามแนวทางส่วนประสมทางการตลาดดังกล่าว
จะส่งผลทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลมากขึ้นและจะสนับสนุนให้ผลประกอบการดีมากขึ้นด้วย
ประเด็นที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์
คือ ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตบางส่วนยังไม่มีการวางแผนโดยใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด
ซึ่งตรงนี้อาจเป็นช่องว่างในการบริหารงานเกี่ยวกับการทำการตลาดผลิตภัณฑ์กรีนที่จำเป็นต้องมีการให้ความรู้และฝึกอบรมในด้านแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดที่สามารถช่วยขับเคลื่อนองค์กรที่ผลิตผลิตภัณฑ์กรีนให้ประสบความสำเร็จได้มากขึ้นได้
ประเด็นที่ 6 ความร่วมมือของเครือข่ายในการบริหารผลิตภัณฑ์กรีน
ผลการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กรีน
พบว่า ส่วนใหญ่มีความร่วมมือกันของผู้ประกอบการและผู้ผลิตเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย
มีเพียงบางรายที่เป็นผู้ประกอบการแยกเดี่ยว
โดยความร่วมมือของเครือข่ายหรือกลุ่มมีหลายลักษณะ เช่น มีความร่วมมือระหว่างสมาชิกของกลุ่ม
เช่น การหาจุดขาย การบอกต่อในการจัดจำหน่าย การนำสินค้ามารวมกันจำหน่าย เป็นต้น
มีการประสานงานของสมาชิกภายในกลุ่ม มีความเชื่อมโยงกับร้านค้าและร้านอาหารในการนำเสนอสินค้าของสมาชิกในกลุ่มหรือเครือข่าย
มีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เช่น
การตรวจสารพิษตกค้างหรือสารเคมีในผลิตภัณฑ์เป็นประจำ เป็นต้น
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ให้ข้อมูลในเรื่องการพัฒนากลุ่มหรือเครือข่ายในอนาคต
พบว่า ผู้ให้ข้อมูลเสนอการจัดตั้งกลุ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ขยายกลุ่มให้ใหญ่ขึ้นเพื่อสามารถสร้างผลมีกำไรมากขึ้น
ควรมีการฝึกอบรมในสมาชิกของกลุ่มหรือเครือข่าย บางรายเสนอว่า ควรมีการขยายกลุ่มให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจนเกิดเป็นรูปแบบโรงงานการผลิต
หลายรายเสนอถึงการสร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งในและนอกกลุ่ม ควรมีการสนับสนุนมากขึ้น
(เช่น การสนับสนุนจากภาครัฐ) สร้างกลุ่มการเรียนรู้ รวมถึงการดำเนินงานให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้น
ประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง
คือ มีผู้ประกอบการบางรายยังอยากเป็นธุรกิจส่วนตัว รายเดียว เหตุผลของความคิดนี้
คือ การรวมกลุ่มมักพบปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่ม
ซึ่งการดำเนินธุรกิจรายเดียวจะทำได้ง่ายกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น